Menu Close

ความหมายของกฐิน

ความหมายของบุญกฐิน

กฐิน เป็นคำศัพท์ภาษาบาลี แปลว่าไม้สะดึง คือ “กรอบไม้” สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บจีวรในสมัยโบราณซึ่งผ้าที่เย็บสำเร็จจากกฐินหรืไม้สะดึงแบบนี้เรียกว่า ผ้ากฐิน (ผ้าเย็บจากไม้แบบ)ในภาษาไทยนิยมเรียกว่า ผ้านุ่ง ว่า ผ้าสบง ผ้าห่ม ว่าจีวรและผ้าห่มซ้อน ว่า สังฆาฎิ

กฐินที่เป็นชื่อของผ้า หมายถึงผ้าที่ถวายให้เป็นกฐินภายในเวลา 1 เดือน นับตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15ค่ำ เดือน 12 ผ้าที่จะถวายนั้นจะเป็นผ้าใหม่ หรือผ้าเทียบใหม่เท่านั้น เช่น ผ้าฟอกสะอาด หรือผ้าเก่า หรือผ้าบังสกุล คือผ้าที่เขาทิ้งแล้ว และเป็นผ้าเปื่อนฝุ่นหรือผ้าที่มีผู้ถวายคฤหัสถ์ก็ได้ เป็นภิษุหรือสามเณรก็ได้ ถวายแก่สงฆ์แล้วก็เป็นอันใช้ได้

พุ่มกฐินขนาดเล็ก

กฐินที่เป็นชื่อของบุญกิริยา คือการทำบุญ คือการถวายผ้ากฐินเป็นทานแก่พระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งครบไตรมาส เพื่อสงเคราะห์ผู้ประพฤติปฎิบัติชอบให้มีผ้านุ่งหรือผ้าห่มใหม่ จะได้ใช้ผลัดเปลี่นของเก่าหรือจะขาดหรือชำรุด การทำบุญถวายผ้ากฐิน หรือที่เรียกว่า ทอดกฐิน คือทอดหรือวางผ้าลงไปแล้วคำว่าถวายในท่ามกลางสงฆ์ เรียกได้ว่า กาลทาน คือการถวายก่อนหน้านั้น หรือหลังจากน้ันไม่เป็นกฐิน ท่านจึงถือโอกาสทำได้ยาก กฐินที่เป็นชื่อของสังฆกรรม คือกิจของสงฆ์ ในการมอบผ้ากฐินให้แก่พระภิษุรูปใดรูปหนึ่ง เมือทำจีวรสำเร็จแล้วด้วยความร่วมมือของพระภิษุทั้งหลายก็จะได้เป็นโอกาสให้ได้ช่วยกันทำจีวรของภิษุรูปอื่น ขยายเวลาทำจีวรได้อีก 4 เดือน ทั้งนี้เพราะในสมัยพุทธการหาผ้า การทำจีวรทำได้โดยยาก ไม่อนูญาติให้เก็บสะสมผ้าไว้เกิน 10 วัน แต่เมื่อได้ช่วยกันทำสังฆกรรมเรื่องกฐินแล้วอนูยาตืให้แสวงหาผ้าและเก็บไว้ทำเป็นจีวรได้จนตลอดฤดูหนาว คือจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4

ผ้าไตรจีวร

ผ้าสบง

ประวัติของกฐิน    ภิกษุชาวเมืองปาไรยารัฐ 30 รูป ได้เดินทางเพื่อมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าณวัดเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี แต่ยังไม่ทันถึงเมืองสาวัตถี ก็ถึงวันเข้าพรรษาเสียก่อน พระสงฆ์ทั้ง 30 รูปจึงต้องจำพรรษา ณเมืองสาเกตุในระหว่างทาง พอออกพรรษาแล้ว พี่สุเหล่านี้จึงได้ออกเดินทางมาเข้าเฝ้าพระศาสดาด้วยความยากลำบากเพราะฝนยังตกชุกอยู่เมื่อเดินทางถึงวัด พระเชตวัน พระพุทธเจ้า ได้ตรัสถามถึงความเป็นอยู่และการเดินทาง เมื่อทราบความลำบากนั้นจึงทรงอนุญาตให้ ภิกษุผู้จำพรรษาครบถ้วนไตรมาสสามารถ รับผ้ากฐินได้ ประเพณีทอดกฐินจึงได้เกิดขึ้นตั้งแต่ครั้งนั้นเป็นต้นมา

ประเพณีทอดกฐินในปัจจุบัน
พิธีทอดกฐินสามัคคีส่วนใหญ่จะเริ่มต้นด้วย ทำบุญตักบาตรพระภิกษุสามเณรที่จำพรรษาณอาวาสดังกล่าวในช่วงเช้าบางวัดจัดทำพิธีทอดกฐินต่อจากการตักบาตรขึ้นในช่วงสายและต่อด้วยการถวายภัตตาหารเป็นสังฆทานแด่พระภิกษุสงฆ์บางวัดจัดให้พระพุทธศาสนิกชนได้ปฏิบัติธรรมเจริญภาวนาในช่วงสายเพื่อกลั้นกายวาจาใจให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ การทอดกฐินจะทำ ในช่วงบ่ายโดยธรรมเนียมแล้วมักมี “บริวารกฐิน” เพื่อถวายจตุปัจจัยไทยธรรมซึ่งไว้ใช้เป็นค่าใช้จ่ายภายในวัดเป็นค่าน้ำค่าไฟตลอดทั้งปีรวมทั้งค่าก่อสร้าง ถาวรวัตถุซ่อมแซมเสนาสนะ เลขต่อเติมเสริมใหม่กิจการ พระศาสนาขยายตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพกิจกรรมที่มาพร้อม กลับ ประเพณีกฐินคือ”ขบวนอัญเชิญผ้ากฐิน” ซึ่งขึ้นกับ แต่ละวัดแต่เราต้องพิมพ์จะบรรลุสิ่งสวยงามทรงคุณค่าคู่ควรกับความสำคัญของพิธีทอดกฐินซึ่งจัดเพียงปีละครั้งหรือขบวนอาจประกอบด้วยกระบวนธงธิว ถ้าภาคเหนืออาจเป็นตุง ขบวนพานพุ่มดอกไม้โดยใช้ ตั้งสาธุชนและบุญร้านเยาวชนมาร่วมขบวนแสดงถึงภูมิปัญญาของคนไทยที่หล่อหลอมในเยาวชนได้เข้าวัดเข้าวาวัดตั้งแต่เป็นเด็ก

ร่มกฐินเล็กหลากสี

การทอดกฐินเป็นบุญพิธีที่ทำได้ยากกว่าคนอื่นด้วยสาเหตุหลายประการคือ
1. จำกัด กาลเวลาคือต้องถวายภายใน 1 เดือนนับตั้งแต่วันออกพรรษา
2. จำกัดชนิดทานคือต้องถวายเป็นสังฆทานเท่านั้นจะถวายโจภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเหมือนทานอย่างอื่นไม่ได้
3. จำกัดคราวคือแต่ละวัดรับกฐินได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้นจำกัดผู้รับคือพระภิกษุผู้รับกฐินได้จะต้องจำพรรษาที่วัดนั้นครบไตรมาส(3 เดือน) เลยต้องมี จำนวนตั้งแต่ 5 รูปขึ้นไป
4. จำกัดงานคือ เมื่อพระภิกษุรับผ้ากฐินแล้วจะต้อง กรานกฐินให้เสร็จภายในวันนั้น
5. จำกัดของถวายคือ ไปทำที่ถวายต้องเป็นผ้าผืนใดผืนหนึ่งในใจจีวรเท่านั้นโดยทั่วไปนิยมใช้สังฆาฏิ ไปทำอันอื่นเป็นบริวารสติเกิดจากพุทธประสงค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพุทธานุญาตให้พระภิกษุสงฆ์รับผ้ากฐินเพื่อตัดเปลี่ยน ไตรจีวรเก่า

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *